Last updated: 11 มี.ค. 2567 | 135 จำนวนผู้เข้าชม |
ปัญหาหนึ่งของผู้สูงอายุ คือ การสูญเสียการได้ยิน ซึ่งเกิดจากประสาทหูชั้นในค่อย ๆ เสื่อมไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น แม้อาการหูตึงในผู้สูงวัยจะไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมากเท่ากับโรคร้ายแรงอื่น ๆ แต่ก็กระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก และอาจเกิดปัญหาการสื่อสารระหว่างผู้ดูแลและผู้สูงอายุ ส่งผลให้ผู้สูงอายุเข้าใจผิดเรื่องการรับประทานยาหรือการดูแลตัวเองจนส่งผลเสียต่อโรคประจำตัวที่เป็นอยู่ หรือผู้สูงอายุอาจปลีกตัวออกจากสังคมเนื่องจากขาดความมั่นใจ จนเกิดภาวะเครียดและซึมเศร้าในที่สุด
สาเหตุการหูตึงของผู้สูงอายุ
เกิดจากความเสื่อมของประสาทหูตามวัย อันนี้ก็จะเป็นลักษณะหนึ่ง และมักจะเป็นทั้ง 2 ข้าง อาการพวกนี้จะเรียกว่า high pitch sound คือ จะไม่ได้ยินช่วงเสียงแหลมความถี่สูงก่อน จากนั้นความเสื่อมจะค่อย ๆ ลามไปถึงช่วงความถี่กลางซึ่งเป็นระดับของเสียงพูด จึงทำให้ผู้สูงอายุเริ่มฟังไม่ชัดเจน โดยเริ่มแสดงอาการเมื่ออายุประมาณ 60 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่ส่งผลต่อความรุนแรงของความบกพร่องของการได้ยิน เช่น การรับประทานยาบางชนิดอาจเป็นปัจจัยให้ประสาทหูเสื่อมเร็วขึ้นได้ การเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือด โรคที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกัน รวมไปถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การสูบบุหรี่ เป็นต้น
แต่ก็ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่จะต้องหาเพิ่มเติม เช่น การเกิดอาการหูตึงข้างเดียว อันนี้อาจจะไม่ใช่อาการตามวัย อาจจะเป็นโรคเกี่ยวกับเส้นประสาทหูแต่ละข้าง เช่น การมีเนื้องอกไปกดเส้นประสาทหูข้างใดข้างหนึ่ง ซึ่งอันนี้ก็เป็นสาเหตุที่ต้องมาพบแพทย์
เมื่อไหร่ที่ผู้สูงอายุควรพบแพทย์เฉพาะทางด้านการได้ยิน
1. เมื่อสนทนากับผู้อื่นแล้วต้องให้คู่สนทนาพูดซ้ำ ๆ หลายครั้ง
2. เวลาพูดจะใช้เสียงดังกว่าปกติ
3. ได้ยินไม่ชัด ได้ยินไม่ครบทั้งประโยค
4. ดูโทรทัศน์หรือฟังวิทยุเสียงดังกว่าปกติ
5. มีเสียงรบกวนในหู เช่น เสียงจิ้งหรีด เสียงดังกึกในหู
วิธีการรับมือกับผู้สูงอายุหูตึง
1. เห็นอกเห็นใจ
การดูแลหรือพูดคุยกับผู้สูงอายุที่สูญเสียการได้ยินหรือหูตึง อาจทำให้ลูกหลานรู้สึกหงุดหงิดที่ต้องพูดเรื่องเดิมซ้ำ ๆ เนื่องจากผู้สูงอายุไม่สามารถเข้าใจได้ในครั้งเดียวที่พูดด้วย เพราะฉะนั้นเมื่อพูดกับผู้สูงอายุแล้วท่านไม่เข้าใจ ลองเปลี่ยนวิธีการพูด พูดให้ช้าลง หรือเปลี่ยนประโยคพูดใหม่ที่สั้นและเข้าใจง่าย
ตัวผู้สูงอายุเองก็ควรพูดหรือโต้ตอบไปตามที่ตนเองเข้าใจ การพูดโต้ตอบเพื่อกระตุ้นให้สมองได้ทำงานบ้าง ไม่ต้องเครียด คิดมาก หรือวิตกกังวล และใช้ชีวิตให้มีความสุข ทำความเข้าใจและยอมรับว่าร่างกายของตนนั้นเสื่อมถอยลงตามอายุ
2. มีความอดทน
ลูกหลานหรือคนในครอบครัวจำเป็นต้องสื่อสารกับท่านด้วยความอดทน พยายามพูดคุย และรับฟัง แลกเปลี่ยนวิธีแก้ไขปัญหาร่วมกัน ในขณะเดียวกันต้องพยายามให้ท่านได้รับทราบเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่จะช่วยให้ท่านได้ยิน หรือการใส่เครื่องช่วยฟัง เพื่อให้ท่านเปิดใจและยอมรับ
การยอมรับว่าตนเองหูไม่ได้ยิน หรือสูญเสียการได้ยินไปเป็นเรื่องที่ยากสำหรับผู้สูงอายุ เนื่องจากเป็นการเสื่อมของประสาทการได้ยินที่ค่อย ๆ เสื่อมลงโดยไม่รู้ตัว และคิดว่าตนเองไม่ได้มีปัญหาการได้ยิน
3. คำนึงถึงผู้สูงอายุเสมอ
ผู้สูงอายุจะจำได้ไม่ดีเท่าคนที่อายุน้อย เพราะเกิดจากความเสื่อมและความช้าของสมองในการรับรู้และประมวลผล เมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกหลานต้องพูดกับผู้สูงอายุที่หูไม่ค่อยได้ยิน ให้พูดอย่างชัดถ้อยชัดคำ พูดช้า ๆ และทำรูปปากให้ชัดเจน เพื่อที่อย่างน้อยท่านจะได้สามารถอ่านปาก ประกอบเสียงที่ได้ยินได้บ้าง
อาการหูตึงในผู้สูงอายุ หรือการที่ประสาทหูเสื่อมตามวัยนั้น เป็นภาวะความเสื่อมของอวัยวะ การช่วยเหลือโดยการใช้เครื่องช่วยฟังถือเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยขยายเสียงจากผู้พูด เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ยินอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น
เครื่องช่วยฟังที่เหมาะกับผู้สูงอายุ
เครื่องช่วยฟังที่เหมาะกับผู้สูงอายุ ของศูนย์เครื่องช่วยฟัง Hearing Care Center ขอแนะนำเป็นแบบคล้องหลังหู เนื่องจากตัวเครื่องมีขนาดที่กะทัดรัด หยิบใช้งานสะดวก และง่ายต่อการใส่ โดยรุ่นที่แนะนำ มี 4 รุ่น ดังนี้
1. รุ่น BTEH1 ราคา 990 บาท
เครื่องช่วยฟังรุ่นนี้ เป็นระบบอนาล็อก (Analog System) ปรับระดับเสียงได้ 4 ระดับ ความดัง
สูงสุด 130 เดซิเบล ใช้งานแบบใส่ถ่าน (เบอร์ 675) รับประกัน 3 เดือน
2. รุ่น BTEH2 ราคา 1,990 บาท
เครื่องช่วยฟังรุ่นนี้ เป็นระบบดิจิตอล (Digital System) ปรับระดับเสียงได้ 4 ระดับ ความดัง
สูงสุด 130 เดซิเบล ลดเสียงรบกวนได้ 4 ระดับ ใช้งานแบบชาร์จ รับประกัน 6 เดือน
3. รุ่น BTEH3 ราคา 3,990 บาท
เครื่องช่วยฟังรุ่นนี้ เป็นระบบดิจิตอล (Digital System) ปรับระดับเสียงได้ 4 ระดับ ความดัง
สูงสุด 130 เดซิเบล ลดเสียงรบกวนได้ 4 ระดับ สามารถเชื่อมต่อบลูทูธ (Bluetooth) กับโทรศัพท์ได้
ใช้งานแบบชาร์จ รับประกัน 6 เดือน
4. รุ่น SU05 ราคา 5,090 บาท
เครื่องช่วยฟังรุ่นนี้ เป็นระบบดิจิตอล (Digital System) ปรับระดับเสียงได้ 4 ระดับ ความดัง
สูงสุด 134 เดซิเบล มีโหมดเสียง 4 โหมด มีช่องรับสัญญาณเสียง (Chanel) 4 ช่อง ใช้งานแบบใส่ถ่าน
(เบอร์ 13) รับประกัน 1 ปี
5. รุ่น SU05-U ราคา 7,090 บาท
เครื่องช่วยฟังรุ่นนี้ เป็นระบบดิจิตอล (Digital System) ปรับระดับเสียงได้ 4 ระดับ ความดังสูงสุด 143 เดซิเบล มีโหมดเสียง 4 โหมด มีช่องรับสัญญาณเสียง (Chanel) 4 ช่อง ใช้งานแบบใส่ถ่าน (เบอร์ 13) รับประกัน 1 ปี
5 พ.ย. 2567
5 พ.ย. 2567